ปลดล็อกกัญชาทั้งที เรารู้ว่าเสพได้แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าต้นกัญชานั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยประโยชน์ตั้งแต่ใบจนถึงราก มีอะไรที่เราไม่รู้และจะน่าสนใจขนาดไหน และ เพราะกัญชาถูกกฎหมายแล้ว หากเราจะเรียนรู้และเข้าใจก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร เช่นเคยครับ วันนี้มีสาระดี ๆ มาฝาก ตัวยงสายเขียวก็ไม่ควรพลาดนะบอกไว้ก่อน
เมื่อก่อนกัญชาเป็นสารเสพติดประเภท 5 ก่อนที่จะถูกยอมรับมากขึ้น กัญชาก็สู้ชีวิตกับเขาด้วยนะ
ในประเทศไทย ตัวของกัญชานั้นได้ถูกจัดให้อยู่ในสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เนื่องจากส่วนของกัญชาที่เป็นยาเสพติดอยู่หลายส่วนเช่นกัน และถูกมองว่าให้โทษไม่มีผลดีใด ๆ ก่อนจะเริ่มมีการศึกษาใหม่จนนำไปสู่การปลดล็อกในที่สุด ลองมาแวะฟังเรื่องราวความเป็นมาของกัญชากันสักหน่อยครับ
ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2504 ทางสหประชาชาติได้มีการลงนามในความสัญญาร่วมเพื่อปราบยาเสพติดนั่นเอง จึงส่งผลให้กัญชากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายที่ร้ายแรง กลายเป็นของต้องห้าม ไม่นับว่าเป็นสมุนไพร ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อความบันเทิงได้ และเมื่อปี พ.ศ. 2514 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการแบ่งบัญชียาเสพติดตามความรุนแรง และเป็นที่น่าตกใจไม่น้อย เพราะกัญชาถูกจัดให้เป็นประเภทที่ 1 ยาเสพติดที่รุนแรง และไม่มีคุณสมบัติทางยาใด ๆ ทั้งนั้น
สำหรับประเทศไทยเรานั้น มีประวัติการใช้กัญชามาตั้งนานแล้วครับ และใช้กัญชาในทางการแพทย์ซะด้วย(คนไทยยุคนั้นก็เก่งไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะครับ) โดยปรากฏอยู่ในตำรับยารักษาอาการเจ็บป่วยมากมาย และมีการใช้ส่วนของกัญชารักษามาอย่างมายาวนาน สามารถย้อนไปได้ถึงยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาได้เลยทีเดียว (ราว ๆ พ.ศ. 2175-2231) แต่ก็ต้องหยุดใช้ไป จากความเข้าใจผิดว่าให้โทษไม่มีผลดีใด ๆ ทั้งสิ้น โดยกัญชานั้นถูกจัดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ก่อนจะมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย ฉบับที่ 7 ในปี พ.ศ. 2562 มีการใช้ในทางการแพทย์ได้ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ห้ามจำหน่าย ซื้อขาย หรือครอบครอง ถือมีความผิด

แต่จากการศึกษาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เกิดองค์ความรู้ใหม่มากขึ้น จากผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบันได้นั้น ชี้ให้เห็นว่าส่วนประกอบกัญชามีสารที่ร่างกายมนุษย์ของเราก็สามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติเช่นกัน โดยสารตัวนี้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุม การส่งเสริมให้อวัยวะภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ และก่อให้เกิดความสมดุลได้ และยังมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย ทั้งยังสามารถนำมาต่อยอดให้สามารถรักษาโรคอีกด้วย จนนำมาสู่การพิจารณาปลดล็อกกัญชาให้ถูกกฎหมายในไทยในที่สุดครับ
จนเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา คือวันที่ประเทศไทยนั้นได้ปลดล็อกกัญชาออกจากสารเสพติดประเภทที่ 5 เป็นที่เรียบร้อย และถึงแม้จะปลดแล้ว แต่ก็ยังมีกฎหมายควบคุมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ และเพื่อประโยชน์ในสังคมต่อไป
ส่วนประกอบของต้นกัญชาที่ต้องรู้ เพราะมีการนำไปใช้งานได้หลากหลาย
มาถึงส่วนของต้นกัญชากันแล้ว โดยจะบอกรายละเอียดของแต่ละส่วนของกัญชาว่าสามารถนำไปทำอะไรได้ โดยรายละเอียดต่าง ๆ มีดังนี้
ลักษณะโดยทั่วไป
ช่อดอก ตัวของกัญขาจะอยู่ด้วยมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน และชนิดดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน โดยประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะพบ กัญชาเป็นแบบดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน การออกดอกนั้น ส่วนใหญ่จะออกเป็นช่อตามซอกใบจนถึงปลายยอด ดอกเพศผู้
ส่วนของใบ
ใบกัญชาเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปฝ่ามือ ลักษณะของใบแตกออกเป็นแฉก 5 ถึง 8 แฉก โดยแต่ละแฉกเป็นรูปยาวรี ส่วนขอบใบจะมีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ซึ่งลักษณะโดยรวมแล้วจะคล้าย ๆ กับใบละหุ่ง กับใบมันสำปะหลัง ผิวใบด้านบนจะมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างท้องใบนั้นจะมีสีเทาอ่อน
ส่วนของลำต้น
ลำต้นตั้งตรง มีสีเขียว เมื่อแห้งจะมีสีเป็นน้ำตาล สูงได้ถึงประมาณ 1 ไปจนถึง 3 เมตร ต้นมีลักษณะอวบน้ำ สำหรับต้นกัญชาตัวผู้นั้น จะสังเกตได้จากมีเม็ดกลมเล็ก ๆ แถว ๆ บริเวณก้านใบติดกับลำต้นในขณะที่กัญชาตัวเมียจะมีดอกเป็นฝอยสีขาว นอกจากนี้ยังมีกัญชากะเทยที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวด้วย โดยเปลือกของลำต้น เราสามารถลอกออกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยได้
ส่วนของเมล็ด
กัญชาเป็นเมล็ดผลเดี่ยว ผลกัญชาจะแห้งและขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ผิวจะเรียบเป็นมัน มีสีน้ำตาลแกมเทาหรือสีเทาเข้มก็ได้ โดยในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็ก ซึ่งเมล็ดจะมีลักษณะกลม รูปไข่ป้อม ๆ ขนาดประมาณ 3 ถึง 4 มม. เท่านั้น เมล็ดจะออกประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ และหลังออกดอกนั้น จะได้น้ำมันจากเมล็ดที่เป็นน้ำมันแบบไม่ระเหย โดยเราสามารถนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ อย่างเช่น ใช้ในอุตสาหกรรมทำสีทาบ้าน ทำสบู่ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้รสชาติของเมล็ดกัญชา จะมีรสที่ค่อนข้างหวาน สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะ กับลำไส้ใหญ่ สามารถรักษาอาการท้องผูกได้
ส่วนของราก
ส่วนไหนของกัญชามีประโยชน์ทางด้านการแพทย์ไม่น้อยกว่าส่วนใบเลยก็คือ ส่วนของรากนี่แหละครับ เป็นส่วนที่ลึกสุดของต้นกัญชา รากเป็นส่วนที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อเลี้ยงส่วนของกัญชา เราจึงจะพบสารอาหารอย่างโคลีน และรากกัญชา เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงจำนวนมาก ในสมัยก่อนมีการต้มรากกับน้ำเปล่า เพื่อนำมาดื่ม โดยมีรสชาติที่ขมมากกว่าชาที่ได้ทำมาจากใบหรือดอก ปัจจุบันมีการสกัดสารจากรากเพื่อใช้ในทางการแพทย์เยอะมากเช่นกัน
ส่วนประกอบของกัญชาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน นอกจากใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์แล้วยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นขนมหรือน้ำมันกัญชา ที่ HighHerb Club เราก็มีผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชาจำหน่าย คุณภาพมาตรฐานและราคาเป็นมิตรกับสายเขียวทุกคนอย่างแน่นอน
หากเพื่อน ๆ สนใจอุปกรณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับกัญชาเรามีทุกอย่างครบจบในที่เดียวไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ได้แก่ ไปป์สูบกัญชา, เครื่องบดกัญชา, อุปกรณ์จัดเก็บและกันชื้น, พันลำ และ บ้องกัญชา
กัญชาประกอบด้วยสารอะไรบ้าง
สารหลัก ๆ ที่สำคัญต่อการแพทย์มีอยู่หลัก ๆ ด้วยกัน 2 อย่างคือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอยด์ หรือ THC โดยมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยตรง สามารถช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ และสารแคนนาบิไดอัล หรือ CBD ที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบ ลดอาการชักเกร็งได้

ใครที่สนใจเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับกัญชาหรือสนใจซื้อสินค้าเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงอุปกรณ์กัญชา ติดต่อสอบถามได้ที่ Line และ Faceboook HighHerb Club ร้านกัญชาที่มีมาตรฐาน ทันสมัยเชื่อถือได้ และมีหน้าร้านจริง
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ส่วนประกอบของกัญชา มีอะไรบ้าง
อย่างที่ได้บอกเพื่อน ๆ ไปแล้วว่าต้นกัญชาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และสารที่สำคัญของกัญชาที่จำเป็นมาก ๆ และนำมาสกัดเพื่อใช้ในทางการแพทย์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ สาร THC และสาร CBD นอกจากนี้ก็ยังมีสารอื่น ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างเช่น cannabichromenic acid, linolledie acid, lecihin, มีสารอาหารจำเป็นต้องร่างกายเช่น น้ำมัน โปรตีน วิตามินบี 1 และ วิตามินบี 2 เราจะเห็นได้ว่า กัญชามีสารที่จำเป็นต่อร่างกายเยอะมาก ๆ แต่ทั้งนี้ การใช้กัญชาก็ยังผลข้างเคียงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถรับปริมาณกัญชาได้อย่างปลอดภัย ก่อนจะนำมาใช้จึงควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุด