share:

การใช้กัญชาในไทย กับกฎหมายปลดล็อกกัญชา

Table of Contents

เป็นที่ฮือฮาไม่น้อยเลยสำหรับประเทศไทยเรา ที่ได้มีการปลดล็อกกัญชาให้สามารถถูกกฎหมายได้แล้ว โดยปลดเมื่อกลางปี 2565 ที่ผ่านมานี้เอง หลังจากปลดได้ไม่นาน ก็ยังคงเป็นกระแสอยู่ตลอด แม้ว่าจะลดลงไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงมีข่าวให้เห็นอยู่เป็นประจำ มีทั้งผลดีและผลเสียให้เราได้เห็นอยู่ตลอด และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในยุคที่กัญชาเสรีนี้ การมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้กัญชาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่น้อย ดังนั้นแล้วทาง HighHerb Club ของเราในวันนี้มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการใช้กัญชาที่อยากจะฝากกันด้วยครับ 

การใช้กัญชาในประเทศไทยเมื่อก่อนเข้มงวดเอามาก ๆ ติดคุกโทษหนักไม่น้อยเลย

ก่อนหน้านี้จะทำให้ถูกกฎหมาย ตัวของกัญชาเคยติดอยู่ในสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ที่ส่งผลร้ายแรงต่อคนสูบมาก ๆ เพราะกัญชามีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง ส่งผลต่อความดันเลือด และระบบไหลเวียน ซึ่งอันตรายมากหากคนที่แพ้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ และด้วยความที่สมัยก่อน ผู้คนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน ทำให้เราจะเห็นผลเสียมากกว่าผลดี จึงไม่แปลกที่กัญชาจะถูกจัดให้เป็นสารเสพติดให้โทษในตอนนั้น แต่ทว่าเมื่อมีการนำมาใช้งานในด้านการแพทย์ขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงได้เห็นผลดีที่เกิดขึ้นอยู่ จึงนำมาสู่การคิดและแก้ไข ว่ากัญชานั้นมีโทษอย่างเดียวจริงหรือเปล่า

หากย้อนกลับไป 100 ร้อยปีก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเรา การใช้กัญชาในไทยถือว่าถูกกฎหมายนะ เพราะคนแก่คนโบราณใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองเลย เพียงแต่มาสิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2465 ในสมัยช่วงรัชกาลที่ 6 ที่ได้กำหนดให้กัญชาผิดกฎหมาย นับเป็นยาเสพติดให้โทษในตอนนั้น ซึ่งก็มีกฎหมายที่เข้มงวดมาก และมีโทษสถานหนักไม่น้อย เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันตัวของกัญชานั้นยิ่งเสพยิ่งติด ยิ่งติด ร่างกายยิ่งเสื่อมโทรม ทำให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายในที่สุด (อะไรที่มากไปก็ไม่มีผลดีอยู่แล้ว)  เวลาก็ล่วงเลยผ่านไปกว่าหนึ่งร้อยปี ในตอนนี้กัญชากลับมาถูกกฎหมายอีกครั้ง ท่ามกลางความสงสัยที่ว่ากัญชาให้ผลดีมากน้อยแค่ไหน

การใช้กัญชาในต่างประเทศ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กัญชาถูกกฎหมายในไทยด้วย 

กับภาพจำในอดีตที่กัญชามีแต่โทษ ทำให้คนไทยเรารุ่นหลัง ๆ มองว่ากัญชาคือสิ่งไม่ดี ผิดกฎหมายขั้นร้ายแรง (ถึงแม้จะมีคนแอบใช้อยู่บ้างก็เถอะ) ทำให้มีการปราบปราม และบางครั้งร้ายแรงจนน่าใจหาย แต่เมื่อมีการใช้งานในวงการแพทย์แล้ว กลับให้ผลลัพธ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะมีผลข้างเคียง แต่หากใช้ได้อย่างพอดี กลับสร้างประโยชน์ได้มากเลยทีเดียว 

เวลาเปลี่ยน ทุกสิ่งอย่างเปลี่ยน จะก้าวหน้าหรือถอยลงก็ล้วนแต่จะต้องเกิดขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ก้าวหน้าและเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนบนโลก คือ การแพทย์ เราได้แต่สงสัยที่ว่าทำไมหลัง ๆ 20 ปี มานี้ หลาย ๆ ประเทศในโลกปลดล็อกกัญชาซะอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่เป็นสารเสพติดไม่ใช่หรอ นั่นเองก็เป็นเพราะการศึกษาค้นคว้าวิจัย มีการทดลองอยู่เป็นหลายสิบปี จนผลสุดท้ายก็สามารถบอกได้แล้วว่า กัญชาสามารถนำมาใช้ให้ก่อประโยชน์ได้ สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ ไม่ได้ให้โทษเสมอไป หากเรารู้จักควบคุมการนำมาใช้ และเราจะเห็นได้ว่ายาที่ใช้ในการรักษาก็ยังคงมีส่วนผสมของสารเสพติดอยู่ เพียงแต่มีการควบคุมปริมาณ จึงไม่ส่งผลอันตราย ดังนั้นแล้ว กัญชาจะถูกกฎหมายบ้างก็คงไม่แปลกนั่นเองครับ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การใช้กัญชาและกัญชงในประเทศไทยถูกกฎหมายอีกครั้งนั่นเองครับ 

การใช้กัญชาในไทยปัจจุบันนำมาใช้ได้หลากหลาย ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือเรื่องเหล่านี้ 

หลังจากที่ปลดก็มีการใช้กัญชาไทยในเรื่องของการบริโภคทั่วไป ทั้งการใช้กัญชาในอาหาร หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ สามารถมีส่วนผสมของกัญชาได้ แต่กัญชาที่ปลดล็อกในครั้งนี้ ที่ได้ผลดีมากที่สุดคือเรื่องของการแพทย์ เพราะในปัจจุบัน กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการได้หลายโรคเลยทีเดียว และในปัจจุบันนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการรับรองการรักษาผู้ป่วยจากการใช้กัญชาแล้ว โดยโรคที่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาแล้วได้ผลดีคือ

โรคที่สามารถรักษาได้

1. ลมชักรักษายาก

2. อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด

3. ปวดระบบประสาท

4. อาการเกร็งจากปลอกหุ้มประสาทอักเสบ

โรคที่สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการได้ 

1. โรคอัลไซเมอร์ 

2. โรคพาร์กินสัน

3. โรควิตกกังวล

4. โรคปลอกประสาทอักเสบ

5. โรคมะเร็งระยะสุดท้าย 

6. โรคอื่น ๆ ในระยะสุดท้าย 

จะเห็นได้ว่ามีหลายโรคที่การใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถทำได้ ซึ่งแต่ละโรคก็ส่งผลต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก การนำกัญชาเพื่อมารักษาจึงสามารถตอบโจทย์ บรรเทาอาการป่วยและช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ป่วยได้อีก กัญชาหากนำมาใช้อย่างถูกวิธีก็คือยารักษาโรคดี ๆ นี่เองล่ะครับ

หลักจากที่ปลดล็อกกัญชา ก็มีนักสูบเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพราะการสูบกัญชาไม่ผิดกฎหมายแล้ว เพื่อน ๆ คนไหนที่ยังไม่มีอุปกรณ์สูบกัญชาดี ๆ HighHerb Club ขอแนะนำ ไปป์สูบกัญชาและบ้องกัญชาสวย ๆ คุณภาพมาตรฐานราคาเป็นมิตรสำหรับเพื่อน ๆ สายเขียวทุกคน เราพร้อมยินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำการใช้งานที่ถูกต้อง

อันตรายจากการใช้กัญชาเกินขนาด ที่ต้องระวัง 

ถึงจะมีประโยชน์ แต่ก็อย่าลืมว่ากัญชาก็สามารถให้โทษได้เช่นกัน หากเราได้รับไปในปริมาณที่มาก บางรายที่ไม่แพ้ก็อาจจะเมาหนักได้ และบางรายที่ถึงแม้ว่าจะไม่แพ้ แต่ผลค้างเขียงที่เกิดขึ้นก็สามารถทำให้อันตรายถึงขั้นชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าเราจะเสพกัญชา หรือการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา ก็ต้องระมัดระวังไว้ก่อน จะดีกับเรามากที่สุดครับ

ใครที่สนใจเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับกัญชาหรือสนใจซื้อสินค้าเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงอุปกรณ์กัญชา ติดต่อสอบถามได้ที่ Line และ Faceboook HighHerb Club ร้านกัญชาที่มีมาตรฐาน ทันสมัยเชื่อถือได้ และมีหน้าร้านจริง 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ผลข้างเคียงของการใช้กัญชาและกัญชงระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวมีอะไรบ้าง

มีการศึกษาและค้นพบว่ายังมีผลค้างเขียงอยู่ หากผู้ที่ใช้การรักษากัญชามาอย่างยาวนาน จะส่งผลต่อระบบประสาท ให้มีการทำงานต่างไปจากเดิมได้ บางรายที่ใช้รักษาอาการนอนหลับ เมื่อเลิกใช้แล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถนอนหลับได้เป็นเวลานาน และนอนไม่หลับเป็นเดือนได้ สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่เลิกใช้กัญชาก็อาจจะมีความคิดด้านลบกลับมาอีกครั้งได้ ดังนั้นการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จึงจะดีกับตัวของเรามาก ๆ 

บุคคลในข้อใดไม่สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์

อันนี้ก็สำคัญไม่น้อยที่เราต้องรู้ไว้ กัญชาถูกห้ามใช้การรักษาสำหรับผู้ป่วยดังนี้ 

1. ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ 
2. ผู้ที่เป็นโรคตับ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ และระบบหมุนเวียนเลือด 
3. ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด เพราะส่งผลด้านระบบประสาทโดยตรง อาจจะทำให้มีอาการแย่ลงได้
4. ผู้ที่ใช้ยาร่วม อื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อย่าง benzodiazepines
5. ผู้ป่วยในเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ  เพราะอาจจะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญและการทำงานของร่างกายได้ 
6. ผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากกัญชาส่งผลไม่เหมือนกับกับผู้ป่วยบางราย บางรายอาจจะทำให้ความดันต่ำ และบางรายอาจจะความดันเลือดสูง จึงควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน

ผู้ป่วยในข้อใดที่แพทย์สามารถสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงในการรักษาได้

สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์, โรคพาร์กินสัน, โรควิตกกังวล หรือการนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดของโรคอื่น ๆ ได้ การใช้รักษาโรคซึมเศร้าก็ได้ผลดีมากเช่นเดียวกันครับ

share:

สินค้าที่เกี่ยวข้อง: