ถ้าจะให้พูดกันตามตรง กัญชาจากทั่วโลกมีถึงหมื่นชนิดเลยนะ เพียงแต่หลัก ๆ แล้วที่จะสามารถนำมาแบ่งแยกย่อยไปได้อีกคือมีอยู่ด้วยกันแค่ 4 สายพันธุ์เท่านั้น สำหรับใครที่สงสัยว่ากัญชาในไทยจะมีอะไรบ้าง และในไทยเป็นสายพันธุ์ไหน มีกี่ชนิด โดยทาง HighHerb Club ก็ได้มีข้อมูลและสาระดี ๆ อีกเช่นเคยที่จะนำมาฝากกันครับ
สายพันธุ์กัญชาในประเทศไทยเป็นแบบไหน แล้วแบบไหนเรียกสายพันธุ์นอก

กัญชานั้นสามารถแยกย่อยออกไปได้อีกหลายพันชนิด ดังนั้นแล้วขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับสายพันธุ์หลัก ๆ (ที่จะแบ่งแยกย่อยออกไปอีก) ที่เราจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สายพันธุ์กัญชา sativa
เปิดมาที่สายพันธุ์แรก ก็เป็นสายพันธุ์ที่เราสามารถพบได้ในไทยกันเลย และเป็น สายพันธุ์กัญชาที่ทำให้คนเมาที่สุด โดยคำว่าซาติวานั้น เป็นภาษาละติน โดยแปลว่า การเพาะปลูก สำหรับแหล่งกำเนิดจะอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรโคลัมเบีย เม็กซิโก (ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยเราด้วยนั่นเอง)
ลักษณะของซาติวาจะมีลำต้นหนา เทียบความสูงแล้ว เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีความสูงได้ถึง 6 เมตร ลักษณะใบจะยาว มีความเรียว และมีสีเขียวอ่อน สำหรับระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว จะใช้เวลา 9 ถึง 16 สัปดาห์ การปลูก เป็นพันธุ์กัญชาที่ชอบแดด ชอบอากาศร้อน หากเทียบปริมาณสาร THC แล้ว จะสูงกว่าอินดิกา (อย่างที่นิยมเป็นอันดับต้น ๆ คือ สายพันธุ์กัญชา og kush ที่มี THC สูงถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และ สายพันธุ์กัญชา สกั้ง ที่รับประกันความเมาแบบไม่ต้องสงสัยกันเลยทีเดียว)
2. อินดิกา (indica)
สำหรับผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค โดยกัญชาสายพันธุ์อินดิกานี้ จะได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในบริเวณอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง
สำหรับลักษณะของอินดิกาจะมีลำต้นที่เป็นพุ่มเตี้ย ความสูงจะมีได้ถึง 180 เซนติเมตร มีใบที่กว้างและสั้น มีสีเขียวเข้มกว่าซาติวา ตัวกิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตจะใช้ 6 ถึง 8 สัปดาห์ การปลูกจะชอบที่ร่มและอากาศเย็น สำหรับอินดิกาจะมีสาร CBD ที่สูง (เกร็ดความรู้เล็ก ๆ สำหรับพันธุ์ผสมที่ขึ้นชื่อคือ สายพันธุ์กัญชา ak 47 และ สายพันธุ์กัญชา เป็ดม่วง โดยเกิดจากพันธุ์ Sativa และ Indica)
3. รูเดอราลิส (ruderalis)
ถูกกล่าวเป็นครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ โดยเจ้ากัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิส คาดว่าน่าจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป
สำหรับรูเดอราลิส จะมีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ หากมองเผิน ๆ แล้วจะดูคล้ายวัชพืช ลักษณะเด่นคือใบกว้างมี 3 แฉกใหญ่ ๆ มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว สามารถอยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ถึงแม้จะดูเลี้ยงง่าย ไม่ได้มีความซัับซ้อน จึงแลกมาพร้อมกับปริมาณสาร THC น้อยกว่าทั้งสองสายพันธุ์แรก แต่ข้อดีคือยังมีสาร CBD ที่สูง แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะนำมาสกัด จึงนิยมนำมาเพื่อผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อนำมาสกัดอีกที
ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา
ได้รู้จักสารทั้งสองชนิดนี้ไปแล้ว แต่เพื่อน ๆ ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าสารทั้งสอง มีความแตกต่างกัน สำหรับสาร CBD นั้นจะมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการชักเกร็ง ช่วยทำให้อาการสงบ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย(แต่น้อยกว่า THC) ในขณะที่สาร THC จะส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้ผ่อนคลายได้มากกว่า ช่วยเรื่องการนอนหลับ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร แล้วกัญชาสายพันธุ์ไทยมีกี่สายพันธุ์ มาติดตามกันต่อครับ
กัญชาแต่ละสายพันธุ์สามารถนำมาสาร THC และ CBD มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น รักษาอาการอักเสบ บรรเทาอาการป่วยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นขนมหรือน้ำมันกัญชาอีกด้วย และแน่นอนที่ HighHerb Club เรามีผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชาจำหน่าย คุณภาพมาตรฐานและราคาเป็นมิตรกับเพื่อน ๆ สายเขียวทุกคน
หากเพื่อน ๆ สนใจอุปกรณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับกัญชาเรามีทุกอย่างครบจบในที่เดียวไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ได้แก่ ไปป์สูบกัญชา, เครื่องบดกัญชา, อุปกรณ์จัดเก็บและกันชื้น, พันลำ และ บ้องกัญชา
สายพันธุ์กัญชา ในไทยที่นิยมปลูกและนำมาใช้งานจริง ๆ มีอยู่ 4 พันธุ์ ด้วยกัน

แล้วกัญชาสายพันธุ์ไทยมีกี่ชนิด สำหรับทั้ง 4 สายพันธุ์ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ถูกค้นพบในไทยเป็นส่วนใหญ่ และได้มีการรองรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในส่วนของสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุ อาจจะต้องรอการวิจัย และการศึกษาข้อมูลให้มากเพียงพออีกสักหน่อย สำหรับสายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนรับรองในไทยมีดังนี้
1. พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
ลักษณะของกัญชาพันธุ์นี้ ตัวของช่อดอกจะมีจำนวนมาก และมีขนาดที่แน่นเป็นกระจุกอยู่ที่บริเวณปลายกิ่ง ในส่วนของลำต้นเป็นทรงคล้ายพุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้มที่ผสมตะไคร้(สมุนไพรเน้น ๆ)
2. พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
สำหรับกัญชาพันธุ์นี้จะมีลักษณะของช่อดอกที่คล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่ก็จะมีความแตกต่างกันคือ พันธุ์นี้จะมีสีแดงที่กิ่ง ที่ก้าน และใบ และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นฉุน แถมมีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้สุกอีกด้วย
3. พันธุ์หางเสือ
สำหรับพันธุ์นี้ ชื่อนั้นมาจากลักษณะของช่อดอกจะยาวคล้ายหางเสือ ลักษณะเหมือนกัญชาโดยทั่วไป มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้ม แต่ไม่ฉุนมากหากเทียบกับตะนาวศรีก้านขาว
4. พันธุ์หางกระรอก
กัญชาสายพันธุ์ไทยที่ขึ้นชื่อติดอันดับโลก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่ของกัญชา เนื่องจากมีสาร THC ในปริมาณที่สูงมาก โดยสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว อย่างที่นิยมมากที่สุดคือ สายพันธุ์กัญชาหางกระรอกภูพาน นี้เอง
สำหรับในวันนี้ เพื่อน ๆ น่าจะได้รู้จักกับสายพันธ์ุของกัญชากันเป็นอย่างดีแล้ว เวลาเราไปเห็นกัญชาสายพันธ์ใหม่ ๆ จะได้รู้ว่าเป็นสายพันธุ์ไหนผสมกัยสายพันธุ์อะไรบ้าง และสายพันธุ์ไทยที่ได้รับการรับรองมีพันธุ์ไหนบ้าง เวลาจะนำไปใช้งานจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องของกฏหมายด้วย สำหรับเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกัญชา หากสนใจสามารถติดตามรออ่านจากทาง HighHerb Club ของเราได้เลย มีเนื้อหาสนุกอีกเพียบให้ได้ติดตามกันด้วยล่ะครับ
และใครที่สนใจเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับกัญชาหรือสนใจซื้อสินค้าเกี่ยวกับกัญชา รวมถึงอุปกรณ์กัญชา ติดต่อสอบถามได้ที่ Line และ Faceboook HighHerb Club ร้านกัญชาที่มีมาตรฐาน ทันสมัยเชื่อถือได้ และมีหน้าร้านจริง
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
กัญชาใบ 3 แฉกพันธุ์อะไร
คือกัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิส (ruderalis) นั่นเอง นอกจากใบจะน้อยแล้ว ลำต้นยังเตี้ยกว่าเพื่อน ๆ อีกด้วย
กัญชาไทย มีกี่สายพันธุ์
จริง ๆ แล้วมีหลายสายพันธุ์มาก เพียงแต่อาจจะยังไม่ถูกค้นพบ หรือยังไม่สามารถระบุให้สามารถใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย ปัจจุบันที่ได้การรองรับในไทยมีอยู่ได้กัน 4 สายพันธุ์ คือ
1. พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
2. พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
3. พันธุ์หางเสือ
4. พันธุ์หางกระรอก
ลักษณะบางอย่างอาจจะไม่ต่างกันมาก ต้องสังเกตดี ๆ กันเลยทีเดียว และกว่าจะรู้ว่าแตกต่างกัน ก็อาจจะต้องลองใช้