share:

จะรู้ได้อย่างไรว่า…เสพติดกัญชาหรือไม่? ตรวจสอบได้จากอะไร

Table of Contents

ลักษณะการเสพติดกัญชามีสัญญาณและอาการแบบใดถึงจะเข้าเกณฑ์ที่เรียกเสพติดกัญชาหนัก วันนี้จะพาทุกคนมาสำรวจตรวจเช็กอาการของตนเอง และคนที่คุณรักไปพร้อมกัน เพราะติดกัญชา รักษาได้ แต่จะมีรายละเอียดว่ารักษาได้แค่ไหน เพียงใด ทุกคนที่ติดกัญชาเลิกได้หรือไม่ เราจะมาบอกวิธีติดกัญชา บำบัดอย่างไรจึงจะถูกต้อง และติดกัญชา ข้อเสียเป็นอย่างไร ทำไมถึงจำเป็นจะต้องบำบัดรักษา วันนี้เรานำข้อมูลที่มีสารประโยชน์มามอบให้กับเหล่าสายเขียว ได้ศึกษาไปพร้อมกัน !

เป็นไปได้ไหมที่จะเราอาจติดกัญชา?

ในขณะที่หลายคนมองว่ากัญชาเป็นสารที่ไม่เป็นอันตราย แต่ความจริงคือมันสามารถทำให้บางคนเสพติดได้ ดังนั้นข้อมูลต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการเสพติดกัญชา รวมถึงสิ่งที่ต้องทำหากคุณหรือแฟนติดกัญชา

เริ่มทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าการเสพติดคืออะไร ?

การเสพติดเป็นภาวะเรื้อรังที่มีลักษณะเฉพาะจากพฤติกรรมอยากยาอย่างหนัก แม้จะเผชิญกับผลเสียก็ตาม การเสพติดถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองผ่านสารต่าง ๆ มากมาย ในที่นี่หมายความรวมทั้งยาเสพติด แอลกอฮอล์ หรือแม้แต่พฤติกรรมบางอย่างก็ก่อให้เกิดการเสพติดได้

มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะติดกัญชา ?

หากถามว่าเสพกัญชาติดไหม แน่นอนว่ามันเป็นไปได้ที่คนเราจะเสพติดกัญชา แม้ว่าความเสี่ยงของการเสพติดจะมีค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับสารเสพติดอื่น ๆ แต่บุคคลบางคนก็อาจใช้กัญชาจนอาจส่งผลเสียต่อตนเองมากกว่าผลดีได้

จากข้อมูลของสถาบันแห่งชาติว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด (NIDA) ประมาณ 9% ของผู้ที่ใช้กัญชาจะเกิดการเสพติด ตัวเลขโอกาสในการเสพติดจำนวนนี้อาจเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 17% สำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มใช้กัญชา ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่น และตัวเลขการเสพติดจะเพิ่มมากขึ้นถึง 25-50% สำหรับผู้ที่ใช้กัญชาเป็นประจำทุกวัน

สัญญาณของการเสพติดกัญชา!

สัญญาณบางอย่างบ่งบอกได้ว่าใครบ้างที่กำลังมีอาการเสพติดกัญชา

1. นิสัยคนติดกัญชาจะใช้กัญชาในปริมาณมาก หรือบ่อยกว่าที่ตั้งใจไว้

2. ความพยายามลดหรือเลิกใช้กัญชาทำแล้วไม่สำเร็จ

3. เสียเวลาหลายชั่วโมงไปกับการใช้กัญชา หรือรอตัวเองหายจากอาการเมากัญชาออกฤทธิ์ต่อร่างกายเป็นเวลานาน

4. ติดกัญชา นอนไม่หลับยังต้องการใช้กัญชาต่อ แม้ว่าจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ การงาน หรือด้านอื่น ๆ ของชีวิตก็ตาม

5. ไม่ทำกิจกรรมอื่นหรืองานที่สำคัญ เพื่อที่จะได้ใช้กัญชา

6. ใช้กัญชาแม้แต่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง เช่น ขณะขับขี่รถ หรือใช้งานเครื่องจักรกลหนัก

เสพติดกัญชา บำบัดการอย่างไร

หากคุณหรือแฟนติดกัญชาและกำลังต่อสู้ เพื่อให้ตนเองเลิกเสพติดมัน สิ่งสำคัญคือคุณจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หาตัวเลือกการรักษาสำหรับพฤติกรรมการติดกัญชา อาจรวมไปถึงการบำบัดพฤติกรรม หากลุ่มสนับสนุน และในบางกรณีอาจจำเป็นจะต้องใช้ยารักษา

1. บำบัดพฤติกรรมบำบัด 

เช่น การบำบัดด้วยความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรม (CBT) สามารถช่วยให้แต่ละบุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมถึงทัศนคติความคิดที่นำไปสู่การเสพติดได้ กลุ่มสนับสนุน อาทิ Marijuana Anonymous สามารถเป็นชุมชนสนับสนุนสำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะฟื้นตัวจากการเสพติดกัญชาได้

2. ใช้ยาเพื่อช่วยบำบัด

ในบางกรณีอาจใช้ยารักษาบำบัด เพื่อช่วยจัดการกับอาการถอนยาหรือความอยากกัญชา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงไม่มีตัวยาที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการเสพติดกัญชาโดยตรง

สำหรับใครที่สนใจจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของกัญชา เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเราได้ที HighHerb Club เพราะเราคือร้านขายกัญชาที่ทันสมัย เราพร้อมที่จะสร้างมิตรภาพผ่านการพูดคุยแชร์ความรู้เกี่ยวกับกัญชา คิดหาซื้ออุปกรณ์กัญชาที่มีระดับ ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ไปป์สูบกัญชา, เครื่องบดกัญชา, อุปกรณ์จัดเก็บและกันชื้น, พันลำ, บ้องกัญชาและน้ำมันกัญชา สามารถเข้ามาที่ซอยสุขุมวิท 4 แล้วมา join กัญชาไปด้วยกัญ!

เสพติดกัญชา ข้อเสียที่คุณอาจคาดไม่ถึง!

โทษของกัญชาจากการเสพติดที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อน มีดังนี้

1. ปัญหาสุขภาพ

การติดกัญชา โดยใช้การสูบหรือดูดปุ๊นอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและการติดเชื้อในปอด นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคจิต

2. ความจำและการทำงานด้านการรับรู้บกพร่อง

การใช้กัญชาเป็นประจำอาจทำให้ความจำและการรับรู้บกพร่อง ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ และทำงานต่าง ๆ ของแต่ละคน

3. ปัญหาการเสพติด

ปัญหาการเสพติดกัญชาอาจเป็นปัญหาที่แท้จริง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความอยาก อาการถอนยา และเลิกดูดบ้องได้ยากมากขึ้น

4. ความบกพร่องในการขับขี่

การติดกัญชาบั่นทอนความสามารถในการขับขี่ที่ปลอดภัยให้ลดลง ในทางกลับกันกลับส่งผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น

5. ปัญหาทางกฎหมาย

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหน การใช้กัญชาอาจผิดกฎหมาย โดยในบริบทประเทศไทย การสูบกัญชาแล้วเกิดควันไปรบกวนบุคคลอื่นในพื้นที่สาธารณะอาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมาย เช่น ต้องเสียค่าปรับ โดนคุมประพฤติ หรือแม้แต่อาจโดนจำคุกได้

6. ปัญหาสังคม

การติดกัญชาอาจรบกวนความสัมพันธ์ส่วนตัว และอาชีพของแต่ละคน เพราะการติดกัญชานำไปสู่พฤติกรรมการแยกตัวจากสังคม และปัญหาอื่น ๆ 

สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าไม่ใช่ทุกคนที่ใช้กัญชาแล้วจะต้องเผชิญกับผลเสียเหล่านี้ แต่อาจมีความเสี่ยงเมื่อต้องใช้เป็นประจำหรือใช้ในปริมาณมาก

โดยสรุป แม้ว่าความเสี่ยงในการเสพติดกัญชาจะมีค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสารเสพติดอื่น แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นไปได้ที่บางคนจะเสพติดได้ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังต่อสู้กับอาการเสพติดกัญชา จะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หรือหาทางเลือกเพื่อรับการรักษา อาจบำบัดพฤติกรรม เข้ากลุ่มสนับสนุน และในบางกรณีอาจใช้ยารักษา หากถามว่าติดกัญชาเลิกได้ไหม ด้วยการบำบัดอย่างถูกต้องเป็นไปได้ที่จะเอาชนะอาการเสพติดกัญชา และกลับมาฟื้นฟูตนเองให้ปกติสมบูรณ์ได้อีกครั้ง 

สนใจพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กัญชา หรือต้องการคำแนะนำเพื่อให้สามารถใช้กัญชาในปริมาณที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้องเข้ามาพูดคุยกับเรา HighHerb Club เราคือร้านค้าที่มีความทันสมัย หากสนใจซื้ออุปกรณ์สูบกัญชาหรือดอกกัญชาแห้ง เราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและสร้างมิตรภาพใหม่กับทุกคน

คำถามที่พบบ่อย

ติดกัญชาเลิกยังไง

1. ตระหนักถึงปัญหา 
ขั้นตอนแรกในการเอาชนะการเสพติดคือการยอมรับว่าตัวเองเสพติดจริง จะต้องซื่อสัตย์กับตัวเองเรื่องการใช้กัญชา ยอมรับว่ามันมีผลกระทบต่อชีวิตของตัวเอง

2. ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
ลองขอความช่วยเหลือจากนักบำบัด ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดที่สามารถช่วยให้คุณเลิกเสพติดได้ 

3. หาเครือข่ายสนับสนุน
อาจติดต่อครอบครัวและเพื่อนที่สามารถสนับสนุนดูแลคุณตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในกระบวนการเลิกสูบกัญชา อาจลองเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเสพติด 

4. วางแผน
พัฒนาแผนที่ต้องการจะเลิก ซึ่งรวมถึงการกำหนดวันที่ต้องเลิก ระบุว่ามีปัจจัยกระตุ้นใดที่อาจนำไปสู่การกลับไปใช้ได้อีก แล้วจึงค้นหาวิธีที่ดีต่อสุขภาพในการรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวล 

5. หากิจกรรมทำ
จะต้องมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากความต้องการจะใช้กัญชา เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือใช้เวลากับเพื่อน 

6. ฝึกฝนที่จะดูแลตนเอง
ดูแลตัวเองทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และทำกิจกรรมที่คุณชอบ 

7. อดทนและไม่ละความพยายาม
การเอาชนะการเสพติดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม อย่ายอมแพ้เพื่อที่จะเอาชนะอาการเหล่านี้ที่ปลายทาง